ปี 2568 ถือเป็นปีแห่งความไม่แน่นอนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (BRICS) ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ที่ส่งสัญญาณให้ความสำคัญกับสกุลเงินดอลลาร์ อาจก่อชนวนสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ซึ่งนโยบายทรัมป์ 2.0 พร้อมจะตอบโต้เช่นเดียวกัน ถือเป็นสถานการณ์ที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลก สิ่งที่สำคัญคือการ
ปรับพอร์ตตามความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
เตรียมแผนปรับพอร์ตท่ามกลางความผันผวน
ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง นักลงทุนควรทบทวนและปรับพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
- สถานการณ์และเป้าหมายการลงทุน นักลงทุนต้องติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์สภาวะตลาดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุน ทบทวนเป้าหมายการลงทุนว่ายังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ รวมทั้งประเมินระยะเวลาการลงทุนที่เหลือว่าต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนหรือไม่ เช่น กรณีลูกค้าลงทุนกองทุนแบบประจำ (DCA) อยู่ ควรเช็คว่า กองทุนที่ลงทุนยังพื้นฐานดี มีแนวโน้มเติบโตต่อไหม หากว่าไม่ใช่ ควรพิจารณาสับเปลี่ยนกองทุนไปกองทุนอื่นที่มีแนวโน้มที่ดีกว่า
- เลือกจังหวะในการปรับพอร์ต นักลงทุนควรเลือกจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อขาย เพื่อลดผลกระทบด้านต้นทุน และทยอยปรับพอร์ตแทนการปรับครั้งเดียวทั้งหมด เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้น รวมถึงคำนึงถึงสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่จะซื้อขาย
- ข้อควรระวังในการปรับพอร์ต สำหรับนักลงทุนที่จะพิจารณาปรับพอร์ต ควรพิจารณาถึงค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่อาจกระทบผลตอบแทน ที่สำคัญต้องไม่ปรับเปลี่ยนพอร์ตบ่อยเกินไปจนเกิดต้นทุนสูง รวมถึงต้องติดตามผลการดำเนินงานของพอร์ตใหม่อย่างใกล้ชิด และเตรียมแผนสำรองหากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
- กลยุทธ์กระจายความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยงยังคงมีความจำเป็น และช่วยให้นักลงทุนไปถึงเป้าหมายอย่างปลอดภัยในระยะยาว ท่ามกลางความผันผวนที่เกิดขึ้น
ปรับพอร์ตลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อเป้าหมายระยะยาว
ในภาวะที่ตลาดผันผวน การปรับพอร์ตโดยการจัดสรรเงินลงทุนบางส่วนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่น่าสนใจ แต่ต้องคำนึงถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายการลงทุนระยะยาว โดยมีสินทรัพย์ปลอดภัยที่น่าสนใจ ดังนี้
- พันธบัตรรัฐบาล ให้ผลตอบแทนที่แน่นอนและมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกพันธบัตร การปรับพอร์ตมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล จะทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยคืนอย่างครบถ้วน
- กองทุนตราสารหนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอและความเสี่ยงปานกลาง ซึ่งภายใต้สภาวะตลาดที่ผันผวน กองทุนตราสารหนี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการกระจายการลงทุนและมีความยืดหยุ่นในการบริหารพอร์ต ควรเลือกกองทุนที่มีการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน
- ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่มักปรับสูงตัวขึ้นในช่วงที่ตลาดผันผวนและเงินเฟ้อสูง ซึ่งในปี 2568 ยังมีปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำทั้งการรวมตัวของกลุ่ม BRICS ที่กำลังสะสมทองคำ และธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ยังเดินหน้าสะสมทองคำเมื่อมีจังหวะเหมาะสม รวมทั้งปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่แน่นอน ส่งผลดีต่อตลาดทองคำ
กลยุทธ์การลงทุนรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยไม่แน่นอน
ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลก โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ จากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ แต่แนวโน้มธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะจีนหรือยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง นักลงทุนควรพิจารณาปรับกลยุทธ์การลงทุน ดังนี้
- เมื่อดอกเบี้ยขาลง
อาจพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเพื่อล็อกโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าและลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง
- เมื่อดอกเบี้ยขาขึ้น
พิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาและอาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยสูง
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงศรีขอแนะนำกองทุนเพื่อช่วยคุณปรับพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะตลาดมีความผันผวนสูง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และปัจจัยการเมืองในต่างประเทศ ได้แก่
- กรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้-สะสมมูลค่า (KFGBRAND-A)
- ลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วโลก ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่มีแบรนด์ดิ้งแข็งแกร่ง มีโอกาสเติบโตสูง เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ภายใต้ความผันผวนที่เหมาะสม
- กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน และ/หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management)
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสะสมความเติบโตของผลตอบแทนไว้ในกองทุน
- กรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF)
- ลงทุนในตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศที่ออกโดยภาครัฐและภาคเอกชนที่มีคุณภาพดี มีความยืดหยุ่นในการจัดสรรพอร์ตการลงทุน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น สามารถรับความผันผวนของ NAV ระยะสั้นได้ และเป็นการลงทุนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- กรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF)
- เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกซึ่งประสบผลสำเร็จหรือมีชื่อเสียงใน brand โดยพิจารณาจาก intangible assets เช่น การมีเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักทั่วโลก การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้า
- มุ่งสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นคุณภาพดีที่มีความทนทานต่อภาวะตลาด (Defensive stock) เป็นหลัก
- เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงออกจากการลงทุนในไทยไปยังต่างประเทศ และเป็นการลงทุนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี
การจัดการพอร์ตที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นในปี 2568 เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและลดความเสี่ยง นักลงทุนควรพิจารณาข้อมูลและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน อย่าง KRUNGSRI PRIME ซึ่งมีบริการที่ช่วยจัดการและวางแผนการเงินอย่างมืออาชีพ การติดตามข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถรับมือกับความผันผวนของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ! เพียงโทร 02-296-5959 (จันทร์ - ศุกร์ 09.00 - 17.00 น.) หรือ
ฝากข้อมูลให้ติดต่อกลับ
ขอรับหนังสือชี้ชวน และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุน RMF เป็นการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
- KFAFIXRMF อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจำนวนได้และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ
- KFGBRAND, KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนจึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้